วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

พ่อยอมเสียสละ! ลูก 3 คน อ้วนจนเกินไป พ่อคิดจะขายอวัยวะในร่างกายเพื่อรักษา


สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน เรื่องราวของครอบครัวชาวอินเดีย Nandwana ที่มี ลูก 3 คน อายุ 5 ขวบ 3 ขวบ และ 18 เดือน ติดอันดับ เด็กที่มีน้ำหนักตัวมากที่สุดในโลก โดยปริมาณอาหารที่เด็กทั้ง 3 คน รับประทานในแต่ละสัปดาห์นั้น เทียบได้กับเลี้ยงปากท้องได้ราว 2 ครอบครัวใน 1 เดือน อาทิ
 
ทั้งนี้ Rameshbhai Nandwana พ่อชาวอินเดียวัย 34 ปี มีแผนที่จะขายไตของเขาเองเพื่อนำเงินที่ได้มารักษาตัวลูกทั้ง 3 คนที่มีน้ำหนักตัวเกินและเป็นโรคอ้วนเรื้อรัง เนื่องจากเห็นว่าหากปล่อยให้ลูกๆคงอยู่สภาพเช่นนี้ต่อไปจะมีปัญหาสุขภาพถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งทุกวันนี้เด็กๆก็เคลื่อนไหวไม่สะดวกไม่สามารถเดินได้ โดยต้องนำขึ้นรถเข็นไปแทน รวมทั้งต้องอุ้มไปอาบน้ำดูแลระบบขับถ่าย ซึ่งปัญหามากมายสารพัดทำให้เด็กทั้ง 3 คน ไม่สามารถเข้าเรียนหนังสือได้ 



"ฉันอยากให้ลูกๆได้รับการศึกษาได้เรียนหนังสือ ออกไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ มีชีวิตของพวกเขา แต่ตอนนี้เขาไม่ได้มีชีวิตแบบนั้น"ผู้เป็นแม่กล่าว
 
สภาพทุกวันนี้ เด็กๆรับประทานอาหารเป็นจำนวนมากต่อวัน ซึ่งแม่ของเด็กต้องใช้เวลาแต่ละวันทำอาหารเลี้ยงลูกๆ ต่อวัน อาทิ ทำแผ่นจาปาตี 30 แผ่น ต่อวัน แกงผัก 1 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังมีขนมขบเคี้ยว อาทิ บิสกิต 5 ห่อ กล้วย 12 ลูก และนม 1 ลิตร ต่อวัน ซึ่งถ้าเด็กๆรับประทานอาหารไม่อิ่มก็จะร้องไห้ นั่นทำให้ผู้เป็นแม่ต้องคอยเข้าครัวทำอาหารเกือบทั้งวัน
 
อย่างไรก็ตาม ครอบครัวนี้มีลูกสาวคนโตอีก 1 คน อายุ 6 ปี แต่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยไม่ได้ป่วยเป็นโรคอ้วน เช่นน้องๆอีก 3 คน 



ทั้งนี้ที่ผ่านมา ครอบครัวนี้ได้พยายามรักษาลูกๆทั้ง 3 คนอยู่ตลอด โดยได้ปรึกษาแพทย์หลายคน ซึ่งแพทย์ในท้องถิ่นให้คำแนะนำไปรักษาที่โรงพยาบาลใหญ่กว่านี้ แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีเงินพอสำหรับค่ารักษา เพราะผู้เป็นพ่อ หัวหน้าครอบครัวมีรายได้หลักจากการเป็นแรงงาน และยังต้องแบ่งเงินมาเป็นค่าอาหารให้ลูกๆ ซึ่งทุกวันนี้ก็ถือว่าลำบากในการดูแลครอบครัวไม่น้อย หลายครั้งที่มีเงินไม่พอก็ต้องหยิบยืมจากญาติและเพื่อนฝูง ซึ่งทางผู้เป็นพ่อระบุว่า ตั้งใจจะขายไตเพื่อนำเงินมาเป็นค่ารักษาให้ลูกทั้ง 3 คน 


แพทย์ท้องถิ่นวินิจฉัยว่าเด็กทั้ง 3 คน ป่วยจากโรค  Prader-Willi syndrome หรือ พราเดอร์วิลลี่


สำหรับโรค พราเดอร์วิลลี่ เป็นกลุ่มอาการซึ่งประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญคือ ปัญหากินได้น้อยและน้ำหนักไม่ขึ้นในวัยทารกตอนต้น (6-12 เดือนแรก) ต่อมาในวัยทารกตอนปลาย (หลังจาก 6 เดือน-12 เดือน) ก็จะเริ่มกินเก่ง และจะค่อยๆ อ้วนขึ้น จนมีปัญหาจากความความอ้วนได้ ถ้าไม่ได้รับการควบคุมอาหารและน้ำหนัก ผู้ป่วยทุกรายมีปัญหาด้านพัฒนการช้าและสติปัญญาไม่มากก็น้อย พบผู้ป่วย 1 ใน 10,000-15,000 ของประชากร 


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Subscribe to our Newsletter

Contact our Support

Email us: Support@templateism.com

Our Team Memebers